[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
กลุ่มอำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
เมนูหลัก
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 6 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
กลุ่มงาน
🔹️ กลุ่มอำนวยการ
🔸️ กลุ่มบริหารการเงินและสินทรัพย์
🔹️ กลุ่มบริหารงานบุคคล
🔸️ กลุ่มนโยบายและแผน
🔹️ กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา
🔸️ กลุ่มนิเทศติดตาม และประเมินผล
🔹️ หน่วยตรวจสอบภายใน
🔸️ กลุ่มส่งเสริมการศึกษาทางไกล (ICT)

สถิติผู้เยี่ยมชม

 เริ่มนับ 2/ม.ค./2557
ผู้ใช้งานขณะนี้ 0 IP
ขณะนี้
0 คน
สถิติวันนี้
129 คน
สถิติเมื่อวานนี้ี้
172 คน
สถิติเดือนนี้
3389 คน
สถิติปีนี้
13409 คน
สถิติทั้งหมด
175642 คน
IP ของท่านคือ 3.238.253.163
(Show/hide IP)

  

  หมวดหมู่ : บทความทางวิชาการ
เรื่อง : ยาแก้วิงเวียน ระวัง อย่าใช้พร่ำเพรื่อ
โดย : admin
เข้าชม : 623
ศุกร์์ ที่ 26 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2558 ปักหมุดและแบ่งปัน
     

อาการวิงเวียนศีรษะเป็นความเจ็บป่วยที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำ วัน ซึ่งสาเหตุของการเกิดอาการวิงเวียนศีรษะมีมากมายหลากหลายสาเหตุ บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยบางรายมีอาการดังกล่าวบ่อยๆ และมักไปซื้อยารับประทานเอง และเมื่อใช้บ่อยจนรู้จักยาแล้ว ก็เรียกหาและใช้ยาเหล่านั้นเป็นประจำ หรือในบางกรณี ไปพบแพทย์แล้วได้รับ ยาแก้วิงเวียน ศีรษะซึ่งเมื่อรับประทานแล้วได้ผลดีก็จะนำตัวอย่างยาไปซื้อรับประทานต่อเอง เป็นระยะเวลานาน

vertigo

มี ยาแก้วิงเวียน อยู่ชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยมีชื่อสามัญว่า ฟลูนาริซีน (flunarizine) ซึ่งมีชื่อทางการค้าที่หลากหลายเช่น Sibelium, Fludan, Fluricin, Poli-flunarin, Liberal, Simoyiam, Sobelin, Vanid, Vertilium เป็นต้น มักมีลักษณะเป็นแคบซูลสีแดงและเทา ซึ่งยาดังกล่าวในทางการแพทย์ มีข้อบ่งใช้ในการรักษาอาการวิงเวียน (vertigo) และป้องกันไมเกรน ตัวยาดังกล่าวสามารถเข้าไปในสมองและออกฤทธิ์ขยายหลอดเลือดในสมอง และปรับระดับสารสื่อประสาทบางชนิดในสมองทำให้ป้องกันไมเกรนและลดอาการวิง เวียนศีรษะได้อย่างมีประสิทธิภาพ

02

อย่างไรก็ตาม การใช้ยานี้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ หรือใช้ยาเองต่อเนื่อง โดยไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์หรือเภสัชกร อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงต่อระบบประสาทส่วนกลางและส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อได้ โดยอาการที่พบมักเป็น อาการเดินได้ช้าลง ก้าวเดินผิดปกติ มือสั่น กล้ามเนื้อลิ้นพลิก พูดไม่ชัด อาการข้างเคียงเหล่านี้มักพบในผู้ป่วยเพศหญิงที่อายุมาก และมีประวัติการรับประทานยานี้มาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน รับประทานยาในขนาดที่สูงจนเกินไปเช่นครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง ซึ่งเป็นขนาดยาที่ผิด (ขนาดยาที่ถูกต้องคือครั้งละ 1-2 แคปซูลหรือ 5-10 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง) หรือรับประทานร่วมกับยาอื่นที่มีผลเพิ่มระดับยาฟลูนาริซีนให้มากขึ้น เหตุผลที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว เกิดจากการที่ยาฟลูนาริซีน มีผลลดการทำงานของสารสื่อประสาทที่สำคัญกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย ที่มีชื่อว่า โดปามีน (dopamine) ในระบบประสาทส่วนกลางบริเวณเบซัลแกงเกลี่ย (basal ganglia) ทำให้การส่งสัญญาณประสาทเพื่อควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อหลายแห่งในร่างกาย ผิดปกติไป โดยทั่วไปหากใช้ยานี้ในขนาดต่ำและระยะเวลาสั้นๆ จะไม่เกิดอาการดังกล่าว

นอกจากยาฟลูนาริซีนแล้ว มียาอีกชนิดที่นิยมใช้เพื่อแก้อาการวิงเวียนเช่นกัน ได้แก่ยาซินนาริซีน (cinnarizine) และบ่อยครั้งที่ผู้ป่วยมักใช้ยาทั้ง 2 ชนิดร่วมกัน หรือใช้ยาซินนาริซีนทดแทนยาฟลูนาริซีน ยาซินนาริซีนเองก็สามารถทำให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติได้เช่นเดียวกัน กับยาฟลูนาริซีนหากใช้ในขนาดสูงและอย่างต่อเนื่อง

01

ผู้ที่มีอาการวิงเวียนศีรษะบ่อยครั้ง และมักรับประทานยา 2 ชนิดนี้อยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะที่ซื้อมารับประทานเองโดยไม่ได้รับการดูแลจากแพทย์หรือเภสัชกร ควรตระหนักถึงผลเสียดังกล่าวด้วย อาการข้างเคียงดังกล่าวถึงแม้จะหายไปได้เองเมื่อหยุดในผู้ป่วยส่วนใหญ่ แต่ในผู้ป่วยบางรายพบว่า อาการดังกล่าวอาจคงอยู่นานและอาจส่งผลกระทบระยะยาวต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย จึงควรใช้ยานี้อย่างระมัดระวัง

อย่างไรก็ตาม ยานี้ยังคงมีประโยชน์โดยเฉพาะในการป้องกันไมเกรนและบรรเทาอาการวิงเวียนที่ มีผลจากการทำงานที่ผิดปกติของระบบการทรงตัวในหูส่วนใน (vestibular system) หากใช้อย่างถูกต้องภายใต้การดูแลของบุคลากรทางการแพทย์

ขอบคุณที่มาบทความจาก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th
และ
http://health.mthai.com/howto/health-care/11391.html





Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

บทความทางวิชาการ5 อันดับล่าสุด

      วันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม ประวัติวันพ่อแห่งชาติ 3/ธ.ค./2558
      ประวัติความเป็นมาวันลอยกระทง 24/พ.ย./2558
      การเปลี่ยนแปลงและเคล็ดลับดูแลสุขภาพเบื้องต้น ของผู้สูงอายุ 15/ต.ค./2558
      “รองเท้าส้นสูง” ภัยร้ายสู่ข้อเข่าเสื่อม หันมาดูแลก่อนที่จะสายเกินไป 22/ก.ย./2558
      วันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม 13/ส.ค./2558